โรคกลัวรูคืออะไร น่ากลัวมากน้อยแค่ไหน รับมือแก้ไขอย่างไรดี?

โรคกลัวรูคืออะไร น่ากลัวมากน้อยแค่ไหน รับมือแก้ไขอย่างไรดี?

หากพูดถึงโรคเกี่ยวกับความกลัวในปัจจุบันนี้มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดความกลัว เช่น ความมืด หลุม กลัวไม้ และกลัวสัตว์ เป็นต้น ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่ทำให้เกิดความกลัวมีอยู่อย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดความกลัวที่รุนแรง นั่นคือ รู หรือที่เรียกว่า “โรคกลัวรู”

โรคกลัวรู คืออะไร

โรคกลัวรู (Trypophobia) ไม่ใช่โรคกลัว แต่เป็นความกลัวชนิดหนึ่งโดยทางสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา (American Psychiatric Association) ได้ระบุว่าโรคกลัวรูไม่ใช่โรคกลัว (Phobia) แต่เป็นเพียงความรู้สึกกลัวเท่านั้น โดยคนที่เป็นโรคนี้เมื่อเห็นสิ่งของที่มีรู หลุมดำๆ ช่องกลมมืดๆ หรือสิ่งของที่มีลักษณะตะปุ่มตะป่ำ เช่น ฝักเมล็ดบัว ปะการัง ฟองน้ำ ฟองสบู่ รังผึ้ง  รังแตน ผิวหนังของสัตว์ที่ขรุขระเป็นรู เป็นต้น จะมีความรู้สึกขยะแขยง ไม่อยากเข้าใกล้ ซึ่งอาการของผู้ป่วยแต่ละคนก็จะมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคที่เป็น

สาเหตุของโรคกลัวรู

ปัจจุบันนี้ทางการแพทย์ยังมิได้มีข้อสรุปอย่างชัดเจนเกี่ยวกับสาเหตุของโรคกลัวรูออกมา แต่ว่าจากการสำรวจข้อมูลของผู้ป่วยที่เป็นโรคกลัวรูนั้น พบว่าปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการของโรคกลัวรูจะมีลักษณะคล้ายกับสาเหตุของโรคกลัวชนิด คือ

1.มีประสบการณ์ที่เลวร้ายเกี่ยวกับวัตถุที่เป็นรูในช่วงวัยเยาว์ ทำให้มีความทรงจำไม่ดีเกี่ยวกับวัตถุมีรู

2.ความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของสมองบางส่วน ทำให้มีความรู้เกี่ยวกับรู้สร้างผลกระทบในทางลบกับร่างกาย

3.อาการของโรคซึมเศร้าหรือโรคเกี่ยวกับความวิตกกังวลจะทำให้รู้สึกกลัวทุกสิ่งอย่างที่อยู่รอบตัว และหากมีความทรงจำที่ไม่ดีเกี่ยวกับรูหรือวัตถุที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันแล้ว อาการจะยิ่งมีความรุนแรงมากขึ้น

4.พันธุกรรม สำหรับครอบครัวที่มีพ่อ แม่หรือญาติในครอบครัวมีอาการของโรคกลัวรู พบว่าเด็กทีเกิดในครอบครัวจะมีอาการของโรคกลัวรูติดมาด้วย

5.สภาพแวดล้อมในครอบครัว สำหรับครอบครัวที่เลี้ยงดูโดยคนที่เป็นโรคกลัวรู ลักษณะการเลี้ยงดู พฤติกรรมของผู้เลี้ยงดูเป็นสิ่งหนึ่งที่ปลูกฝังให้เด็กที่เติบโตมาในสิ่งแวดล้อมดังกล่าวจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคกลัวรูได้

อาการของโรคกลัวรู

โรคกลัวรูมีระดับความรุนแรงที่ต่างกันออกไปตามแต่ละบุคคล ซึ่งอาการของผู้ที่เป็นโรคนี้มีอยู่ด้วยกัน 3 ระดับใหญ่ ดังนี้

1.ระดับเบื้องต้น

สำหรับผู้ที่มีความรุนแรงของโรคนี้น้อยที่สุด เมื่อเห็นวัตถุที่เป็นรูหรือวัตถุที่คล้ายคลึงกัน จะมีแค่ความรู้สึกกระวนกระวาย อยู่ไม่นิ่งและไม่อยากอยู่ในพื้นที่ ต้องการเดินหนีหรือออกจากพื้นที่นั้นทันที่

2.ระดับกลาง

สำหรับผู้ที่มีความกลัวมากขึ้นมา อาการจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น โดยจะมีการร้องไห้ฟูมฟาย กรีดร้อง โวยวายเสียงดังออกมาทันทีที่เห็นรูหรือวัตถุที่คล้ายรู

3.ระดับรุนแรง

ถือเป็นระดับที่สร้างความกระทบกระเทียนต่อผู้ที่เป็นโรคนี้สูงมาก เพราะผู้ที่ระดับรุนแรงเมื่อเห็นรูหรือวัตถุที่คล้ายรูจะรู้สึกตกใจแบบสูงสุดจะทำให้สมองคล้ายหยุดสั่งการ ทำให้ร่างกายหยุดนิ่ง ไม่สามารถเคลื่อนไหวหรืออาจหมดสติไป

ถึงแม้ว่าความรุนแรงของโรคกลัวรูจะดูน่ากลัว แต่ว่าก็เป็นโรคกลัวที่ยังไม่ทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตหรือเสียสติได้ เพียงแค่ทำให้รู้สึกไม่ดีหรือไม่สบายใจและร่างกายไปชั่วขณะที่เห็นรูหรือวัตถุคล้ายรูเท่านั้น

วิธีดูแลและรับมือกับโรคกลัวรู

อย่างที่รู้กันดีว่าโรคกลัวรูไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่สำหรับคนที่มีอาการอยู่ในระดับกลางและระดับรุนแรงแล้ว อาจจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้เช่นกัน ดังนั้น หากเป็นโรคกลัวรูแล้วก็ควรรู้จักวิธีการดูแลและรับมือกับโรคกลัวรู เพื่อให้โรคนี้ไม่ส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวันหรือส่งผลกระทบน้อยที่สุด ซึ่งวิธีการดูแลและรับมือกับโรคนี้มีดังนี้

1.การฝึกสมาธิเพื่อควบคุมสติ

สำหรับผู้ที่เป็นโรคกลัวรูนั้นสติถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะหากไม่สามารถควบคุมสติได้แล้ว โอกาสที่ความตกใจเมื่อเห็นรูหรือวัตถุคล้ายรูจะทำให้อาการที่แสดงออกมามีความรุนแรงมีสูงมาก ดังนั้นคนที่มีอาการของโรคนี้จึงควรหมั่นฝึกสมาธิเพื่อควบคุมสติให้นิ่ง และช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ซึ่งจะส่งผลให้ความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นลดน้อยลงได้

2.ฝึกเผชิญหน้า

ความกลัวเป็นสิ่งที่สามารถลดให้น้อยลงได้ ด้วยการเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัวเป็นประจำ จะทำให้ร่างกายเกิดความเคยชินและคุ้นเคยไปเรื่อย โดยการฝึกนี้อาจจะค่อย ๆ ฝึกที่ละน้อย เริ่มจากรูขนาดเล็กเพียง 1-2 รูก่อน เมื่อเห็นจนคุ้นเคยแล้วค่อย ๆ เพิ่มจำนวนรูให้มากขึ้นไปเรื่อย ซึ่งการฝึกนี้อาจจะใช้เวลาที่นาน อย่าเร่งรีบเพราะหากเร่งรีบอาจจะทำให้อาการของโรคหนักขึ้นได้

3.ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

หากการดูแลฝึกด้วยตนเองยังไม่สามารถช่วยให้อาการของโรคบรรเทาลงได้ หรืออาการยิ่งหนักขึ้น ผู้ป่วยควรเข้าไปทำการรักษาด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ทำการรักษาโรคนี้โดยเฉพาะ เพื่อให้อาการของโรคนี้หายไป

จะเห็นว่าโรคกลัวรูถึงแม้จะไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง แต่ก็เป็นโรคที่ไม่ควรละเลยหรือไม่ให้ความสำคัญ เพราะหากปล่อยไว้เป็นเวลานานและอาการของโรคมีความรุนแรงขึ้นก็อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและคนรอบข้างได้ ดังนั้นหากรู้ว่าเป็นโรคนี้ก็ควรทำการควบคุมหรือรักษาโดยแพทย์เพื่อให้หายจากโรคนี้ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป